Author Archives: AFBE admin

ธุรกิจครอบครัวในยุคเปลี่ยนผ่านฉับพลัน (Family business in disruption era)

ย้อนไป 63 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเริ่มใช้ พระราชบัญญัติพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติครั้งแรก ในปี 2504 ในขณะนั้นมีจีนอพยพมาอยู่อาศัยในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง คนจีนโพ้นทะเลเหล่านั้นมีอายุมากน้อยคละกันไป คนจีนมีนิสัยขยัน อดทน อดออม มีความเคารพนับถือผู้มีอาวุโสกว่า มีความกตัญญูรู้คุณคน ช่างสังเกตุและไม่กลัวที่จะลำบาก คนจีนจึงมีโอกาสทำมาค้าขาย ซื้อมาขายไป กำไรครั้งละนิดหน่อยก็อดทนทำไป ขาดทุนนิดกำไรหน่อยก็ตื้อทำมาหากินไปเรื่อยๆ คุณสมบัตินี้เองเมื่อมาประกอบกับ พรบ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มันทำให้คนจีนคนขยันได้ปัจจัยแห่งความสำเร็จในเชิงธุรกิจมากขึ้น เปลี่ยนจากการทำมาหากิน มาเป็นการทำธุรกิจนั่นเอง

6 ประเด็นสำคัญเพื่อความพร้อมของการสืบทอดธุรกิจครอบครัว

ความท้าทายการส่งผ่านธุรกิจครอบครัวไปสู่รุ่นต่อไป จะท้าทายมากขึ้นเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น ในขณะที่ครอบครัวมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ความท้าทายการสืบทอดธุรกิจครอบครัวถือเป็นภาระกิจที่มีความสำคัญอย่างมากที่จะเป็นตัวสร้างหลักประกันในความยั่งยืนของธุรกิจครอบครัวในอนาคต เนื่องจากสมาชิกจำนวนหนึ่งที่ไม่สนใจเรื่องธุรกิจเลย บางคนเดินบนทิศทางที่แตกต่าง ในขณะที่สมาชิกที่ร่วมงานอาจมีมุมมองที่ขัดแย้งกัน การไม่มีแผนการสืบทอดหรือการตรวจเช็คสภาพของธุรกิจครอบครัว และตรวจเช็คสถานะของครอบครัวอาจเป็นภัยคุกคามของความอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวได้

ปัญหาธุรกิจว่ายากแล้ว……การบริหารธุรกิจครอบครัวอาจยากกว่า

การบริหารธุรกิจจะว่าด้วยเรื่องของการบริหารคน การบริหารง […]

วางแผนเขียนธรรมนูญครอบครัวให้ประสบความสำเร็จ เริ่มต้นอย่างไร? มีหัวข้ออะไรบ้างที่ต้องพิจารณา?

วางแผนเขียนธรรมนูญครอบครัวให้ประสบความสำเร็จ

การสร้างข้อตกลงของครอบครัวที่จะนำไปสู่ธรรมนูญครอบครัวที่สมบูรณ์นั้น หัวใจสำคัญคือเนื้อหาหรือหัวข้อของธรรมนูญครอบครัวที่ครอบคลุมซึ่งมีอยู่ในหนังสือ “ครอบครังมั่งคั่ง กิจการยั่งยืน” ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อสำคัญที่เกี่ยวกับครอบครัว ธุรกิจครอบครัว และเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ต่าง ๆ ใน 3 เรื่องหลักนี้ ถ้ามองลงไปลึก ๆ ถึงเนื้อหาแล้วจะเห็นว่าเรื่องครอบครัวจะเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึก เรื่องธุรกิจจะเป็นเรื่องของความถูกต้อง และมืออาชีพ ในขณะที่เรื่องผลประโยชน์หรือความเป็นเจ้าของจะเป็นเรื่องของข้อตกลงที่ใช้กฎหมายมาเป็นตัวกำหนด

คาดหวังอะไร ? กับธุรกิจครอบครัวที่เราสร้างขึ้น

คาดหวังอะไรกับธุรกิจครอบครัวที่สร้างขึ้น

คาดหวังอะไร ? กับการสร้างธุรกิจครอบครัวขึ้นมา .คำถามที่ผู้ประกอบการหลายคนคงมีคำตอบในใจกันบ้างประมาณหนึ่ง และ คำถามนี้ต้องการคำตอบที่ชัดเจนมาก ๆ ก่อนเริ่มต้นลงมือสร้างธุรกิจครอบครัว การเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจครอบครัวของสมาชิกครอบครัวนั้น ถ้าเป็นผู้ก่อตั้งธุรกิจแน่นอนการสร้างธุรกิจจากน้ำพักน้ำแรงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย การลองผิดลองถูก ความล้มเหลวหลายครั้ง ล้วนเป็นประสบการณ์ที่มีค่ามาก เมื่อมีลูกหลานที่พร้อมเข้ามาทำงาน และเมื่อต้องถึงเวลาส่งมอบ ผู้ก่อตั้งมักมี หลายอารมณ์ในการส่งต่อธุรกิจตั้งแต่อารมณ์ “หวง” ธุรกิจที่ตัวเองได้สร้างขึ้นจนแทบจะไม่อยากปล่อยมือ มีอารมณ์ “ห่วง” ธุรกิจว่าถ้าเราส่งต่อไปแล้ว ธุรกิจของเรายังจะต่อยอดความเจริญเติบโตได้หรือไม่ ลูก ๆ เราจะ “หวง” ธุรกิจแบบที่เราหวงหรือไม่

6 กุญแจสำคัญ ช่วงเริ่มต้นสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจครอบครัว

6-กุญแจสำคัญช่วงเริ่มต้นสร้างความแข็งแกร่งธุรกิจครอบครัว

การบริหารธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จถือว่ายากแล้ว ในสถานการณ์การแข่งขันในปัจจุบันแต่การบริหารธุรกิจครอบครัวที่มีสมาชิกสายเลือดเดียวกันนั้นยากยิ่งขึ้น ในธุรกิจเราจะเจอการทำงานระหว่างหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง ที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเลย ซึ่งต่างกับธุรกิจครอบครัวที่เราอาจทำงานร่วมกับภรรยา ทำงานร่วมกับลูก ทำงานร่วมกับพี่น้อง เครือญาติ หรือเขย สะใภ้ ซึ่งสายสัมพันธ์ในสายเลือดนี้ทำให้การบริหารธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้นไปอีก ถ้าสมาชิกแต่ละคนใช้อารมณ์ความรู้สึกเข้ามาในการทำงานมากขึ้นเท่าไร ความขัดแย้งก็อาจเกิดขึ้นได้มากเท่านั้น และอาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุดลงได้

7 ปัญหายอดฮิต ทำไมเขียนธรรมนูญครอบครัวไม่ประสบความสำเร็จ

7-ปัญหายอดฮิตทำไมเขียนธรรมนูญครอบครัวไม่ประสบความสำเร็จ

ธุรกิจครอบครัวในเมืองไทยให้ความสนใจในเรื่องธรรมนูญครอบครัวกันมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่ในเมืองไทยมีอายุธุรกิจ 20 – 40 ปีซึ่งเป็นช่วงการทำงานร่วมกันระหว่างรุ่นที่ 1 กับรุ่นที่ 2 หลายครอบครัวเริ่มมีรุ่นที่ 3 แล้ว สมาชิกเริ่มเห็นความสำคัญของการหาข้อตกลงกันภายในครอบครัว เมื่อครอบครัวมีจำนวนสมาชิกมากขึ้น ธุรกิจใหญ่ขึ้นการทำงานเริ่มมีข้อขัดแย้ง และยากขึ้นเรื่อย ๆ สมาชิกเริ่มศึกษาวิธีการเขียนธรรมนูญครอบครัวอย่างจริงจัง บางครอบครัวได้ศึกษาจากการค้นคว้าข้อมูลด้วยตัวเองศึกษาจากครอบครัวอื่น หรือขอคำแนะนำจากครอบครัวที่รู้จักมาเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นให้ฟัง  หลายครอบครัวที่ไม่มีเวลาหรือหาที่ปรึกษาซึ่งมีความชำนาญด้านนี้มาช่วยวางแผนและเขียนให้

“ ปล่อยเธอไปหรือง้อเขาดี ” ตัดสินใจอย่างไร ? ถ้าจะให้คู่สมรสเข้าร่วมธุรกิจครอบครัว

ปล่อยเขาไปหรือง้อดี-คู่สมรสกับธุรกิจครอบครัว

ประเด็นที่สำคัญและเป็นที่ถกเถียงกันในธุรกิจครอบครัวว่า การให้คู่สมรสหรือการให้เขยหรือสะใภ้เข้ามาร่วมงานด้วย มันมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง หลายครอบครัวตกลงกันว่า ไม่ให้เขย สะใภ้ เข้ามาทำงานในธุรกิจเลย เพราะกลัวมีปัญหาตามมาภายหลัง ในขณะที่อีกหลายครอบครัวให้ เขยหรือสะใภ้เข้ามาร่วมทำงานด้วย ธุรกิจก็สามารถเดินไปได้ด้วยดีและบางครอบครัวเขยมีโอกาศขึ้นเป็นผู้นำเลย

ไอศกรีม “Baskin Robbins” กรณีศึกษาปัญหาช่องว่างระหว่างวัยในธุรกิจครอบครัว

กรณีศึกษาไอศกรีม Baskin Robbins

ช่องว่างระหว่างวัยเป็นเรื่องที่มีการหยิบยกมาเป็นประเด็นในทุกวงการ ตั้งแต่ในครอบครัวระหว่างพ่อ แม่ ลูก  หรือเกิดขึ้นในที่ทำงานระหว่างหัวหน้า และลูกน้อง ยิ่งในโลกยุคปัจจุบันช่องว่างนี้จะเริ่มมีมากขึ้น ถ้าผู้ใหญ่ในยุคเบบี้บูมไม่ก้าวให้ทันเด็กรุ่นใหม่แล้วถ้าช่องว่างระหว่างวัยเกิดขึ้นในธุรกิจครอบครัว ที่มีเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกของความเป็นสายเลือด ญาติพี่น้อง เราจะมีวิธีการจัดการอย่างไรบ้าง ? เรามาเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา ธุรกิจครอบครัวระดับโลกอย่าง ไอศกรีม “Baskin Robbins” ไปด้วยกัน

“เลิกจ้าง” สมาชิกครอบครัวได้ไหม ? คำถามที่ทุกธุรกิจครอบครัวไม่อยากให้เกิดขึ้น

เลิกจ้างสมาชิกครอบครัวได้ไหม

การเลิกจ้างงานเป็นประเด็นที่กระทบความรู้สึกสมาชิกครอบครัวมาก ซึ่งครอบครัวมักจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น หลายครอบครัวที่ต้องเลิกจ้างสมาชิกส่วนใหญ่มักจะเป็นสาเหตุของความไม่ซื่อสัตย์ การโกง และ ถูกจับได้ โดยสมาชิกยอมรับถึงการกระทำของตัวเอง  แต่มักไม่ค่อยเห็นจากเหตุของความสามารถไม่ถึง เพราะเป็นเรื่องที่ยากต่อการชี้ขาดนั่นเอง