ค่านิยมครอบครัวอาจดูเหมือนเป็นเรื่องที่จับต้องไม่ได้ แต่ค่านิยมที่ชัดเจนและได้รับการยึดถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ฝังรากลึกลงไปในธุรกิจจนเกิดเป็นวัฒนธรรมของครอบครัวที่ใครๆ ให้การยอมรับ ถือเป็นจุดต่างสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจครอบครัวหนึ่งมีความแตกต่าง และได้เปรียบจากธุรกิจอื่น ที่เงินไม่สามารถซื้อได้
เรื่องความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จของการเขียนข้อตกลงในครอบครัว หรือธรรมนูญครอบครัว (Family Charter) เพราะถ้าความสัมพันธ์เสียหายแล้ว เกิดความไม่ไว้วางใจกัน ไม่เชื่อใจกัน โอกาสที่จะหาข้อตกลงกันจะมีความยากขึ้นเป็นทวีคูณ เนื่องจากการเขียนธรรมนูญครอบครัวจะใช้หลักของความเห็นพ้องต้องกันของสมาชิกทุกคนในครอบครัว
การส่งมอบธุรกิจธุรกิจควรทำในช่วงเวลาที่เหมาะสม และไม่ควรจะรีบทำเร็วเกินไป หากยังไม่มีการวางแผนที่ดี หรือไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า ที่ผ่านมาเราคงจะเห็นหลายครอบครัวที่ผู้นำธุรกิจไม่ยอมวางมือปล่อยให้ลูกหลานขึ้นมารับผิดชอบแทนแม้จะอายุมากแล้ว เนื่องจากยังมีความไม่ไว้ใจหรือเชื่อมั่นพอว่าธุรกิจที่สร้างขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง จะได้รับการสืบทอดด้วยดีจากทายาท หรือมีความกังวลในการเลือกตัวผู้สืบทอด ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมาก็เพราะไม่ได้มีการเตรียมการวางแผนสืบทอด (Succession Plan) ไว้แต่เนิ่น ๆ นั่นเอง
การสานต่อธุรกิจจากความยิ่งใหญ่ของผู้ก่อตั้งที่ได้สร้างมาด้วยความหลงใหล ความเป็นอัจฉริยะ เมื่อถึงเวลาต้องส่งต่อธุรกิจ มันเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากสำหรับลูกหลานที่จะสานต่อ ตั้งแต่ลูกหลานมีความสามารถเท่าเทียมพ่อหรือไม่ มีทัศนคติ ค่านิยมเดียวกันหรือไม่ ทางเลือกคือจะสู้ฝ่าฟัน ถกเถียงกัน อาจต้องเหนื่อย ทำร้ายความรู้สึกกันบ้าง เพื่อสานต่อ และรักษาชื่อเสียงตลอดจนความมั่งคั่ง หรืออีกทางหนึ่งคือเลือกที่จะอยู่อย่างสงบ หรือถอย และหาหนทางทำในสิ่งที่ตัวเองชอบโดยไม่ทำร้ายความสัมพันธ์ในครอบครัว และสุดท้ายแล้วธุรกิจก็อาจไม่มีผู้สืบทอดเพื่อสานต่อชื่อเสียง ความหลงใหล และต้องสิ้นสุดลงไปในระยะเวลาอันสั้น
ปัญหาขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่มาจากสมาชิกครอบครัวเอง หรือมาจากเหตุสุดวิสัย หรือปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เมื่อเกิดเรื่องขึ้น ครอบครัวที่เป็นเจ้าของกิจการนั้น ๆ ก็อาจจะโดนหางเลขไปด้วย ยิ่งธุรกิจไหนที่ใช้ชื่อของตระกูลเป็นชื่อแบรนด์ หรือตราสินค้าด้วยแล้ว ยิ่งควรต้องให้ความสำคัญมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว
บทความก่อนหน้านี้ เราเคยกล่าวถึงมูลเหตุความขัดแย้งในธุรกิจครอบครัวที่มาจากโครงสร้างครอบครัว และโครงสร้างการบริหารธุรกิจของครอบครัว ในตอนนี้เราจะลงลึกถึงมูลเหตุความขัดแย้งที่มาจากการขาดข้อมูล ข้อมูลที่รับรู้ไม่เท่ากัน การปิดบังข้อมูล เปิดเผยไม่หมด หรือขาดการสื่อสารที่ดีพอ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการบริหารจัดการครอบครัวธุรกิจ
กรณีพิพาทในเรื่องสิทธิในตราสินค้า ที่กลายเป็น “ศึกสายเลือด” ระหว่างสมาชิกในครอบครัวมีให้เห็นเป็นข่าวในบ้านเรากันอยู่เนือง ๆ จึงไม่ต้องแปลกใจเมื่อเราพบว่าหนึ่งในมูลเหตุความขัดแย้งที่พบมากที่สุดคือเรื่องของ “ผลประโยชน์” นั่นเอง
ทำไมครอบครัวธุรกิจชั้นนำที่มีวิสัยทัศน์จึงให้ความสนใจกับการทำข้อตกลงในครอบครัว หรือ ที่เราเรียกว่า ธรรมนูญครอบครัว (Family Charter) ทุกคนเป็นห่วงอะไรกัน? ในขณะที่ครอบครัวเรายังรักกันดี การทำงานก็ราบรื่น ถึงแม้จะมีปัญหากันบ้าง แล้วอะไรคือความเสี่ยงที่ธุรกิจครอบครัวจะต้องเจอ? อะไรคือความขัดแย้งที่หลายคนคาดไม่ถึง?
จากประสบการณ์ของทีมงานสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัว (AFBE) ที่ได้ทำงานที่ปรึกษาการจัดทำธรรมนูญครอบครัวให้กว่า 40 ครอบครัวไทย และจากการศึกษากรณีตัวอย่างทั้งในและต่างประเทศ พบว่ามูลเหตุความขัดแย้งของครอบครัวธุรกิจส่วนใหญ่มักมีสาเหตุเริ่มต้นมาจาก “โครงสร้างครอบครัว” และ “โครงสร้างการบริหารธุรกิจครอบครัว” จากการศึกษากรณีตัวอย่างทั้งในและต่างประเทศมักพบปัญหานี้
ธรรมนูญครอบครัว (Family Charter) สามารถใช้เป็นกลไก หรือจุดเริ่มต้นในการให้สมาชิกครอบครัวทุกคนได้มีวาระในการหันหน้าเข้าหากัน และช่วยกันระดมกำลังสมองเพื่อค้นหาสัญญาณความเสี่ยงในหัวข้อประเด็นต่าง ๆ หาทางป้องกันก่อนที่ประเด็นต่าง ๆ จะกลายเป็นปัญหาลุกลามใหญ่โตจนยากที่จะแก้ไข